วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


กิจกรรมที่ 1
คำนิยามที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
1.นิยามของคำว่า "พยาน
เป็นหลักฐานที่สามารถใช้นำสืบข้อเท็จจริง ประกอบกับการดำเนินคดีทางศาลและมีอยู่ สามประเภทได้แก่ พยานบุคคล พยานเอกสาร พยานวัตถุ
ที่มา :สำนักงานเลขาธิการผู้แทนราษฎร. นิยามของคำว่าพยาน(ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.lawamendment.go.th/plm/ow_word.asp?word=%BE%C2%D2%B9 [8 พฤศจิกายน 2555] 

2.กฎหมาย  นิยาม  บรรดาข้อบังคับของรัฐหรือประเทศที่ใช้ในการบริหารกิจการบ้านเมืองและใช้บังคับความประพฤติของบุคคล  อันเกี่ยวด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกัน  ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและต้องถูกลงโทษ  และเมื่อปฏิบัติตามก็ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองหรือต่อสังคม
ที่มา: ไพศาล ภู่ไพบูลย์ อังคณา ตติรัตน์ และปนัดดา มีสมบัติงาม. หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ม.1. พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

3.นโยบาย(Policy) นิยาม กลุ่มของข้อบังคับบนพฤติกรรมที่เป็นไปได้ของระบบเป้าหมาย ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามระบบที่สนใจ โดยมักจะสร้างด้วยภาษาธรรมชาติ (Natural Language)
ที่มา : นิยามของนโยบาย.  (ออนไลน์2553).  สืบค้นจากhttp://www.securityberry.com/index.php?option=com_content&view=article&id=46:-policy&catid=29:policy&Itemid=60 (8 พฤศจิกายน 2555)
4.พยานหลักฐาน นิยาม สิ่งที่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่มีการกล่าวอ้าง ในการดำเนินคดีไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ส่วนมากแล้วจะมีคู่ความสองฝ่าย คือ โจทก์และจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยต่างก็จะกล่าวอ้างข้อเท็จจริงต่างๆ มาในคำฟ้องและคำให้การเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวหาและข้อกล่าวแก้ของตน ข้อเท็จจริงต่างๆ เหล่านี้ย่อมจะตรงกันบ้างและขัดแย้งกันบ้าง ถ้ากระบวนพิจารณาจบสิ้นเพียงเท่านั้น ศาลย่อมไม่สามารถจะชี้ขาดได้ว่าฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด เพราะศาลไม่มีทางจะทราบได้ว่าฝ่ายใดพูดจริงฝ่ายใดพูดเท็จฉะนั้น คู่ความแต่ละฝ่ายจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาทางพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของตนให้ศาลเชื่อ ซึ่งได้แก่การนำพยานหลักฐานมาแสดงยืนยันข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้างนั่นเอง
ที่มา : ประมูล สุวรรณศร, คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 8 (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แสวงสุทธิการพิมพ์, 2526) หน้า 2

5.กฎหมายลักษณะพยาน คือ กฎหมายที่วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยพยานหลักฐานว่าในคดีแต่ละคดีนั้นมีข้อเท็จจริงใดบ้างที่จะต้องมีการพิสูจน์ใครเป็นผู้มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ พยานหลักฐานชนิดใดบ้างซึ่งอาจเสนอต่อศาลและศาลรับฟังได้ กระบวนพิจารณาในการนำพยานหลักฐานเข้าสู่ศาลและการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานกฎหมายลักษณะพยานจัดอยู่ในประเภทกฎหมายวิธีสบัญญัติ
ที่มา: ประมูล  สุวรรณศร, เรื่องเดิม, หน้า 5, โอสถ  โกศิน, คำอธิบายและเปรียบเทียบกฎหมายไทยและต่างประเทศ ในเรื่องกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยเขษม, 2517) หน้า 4

6.พยานบุคคล นิยาม บุคคลที่มาให้การด้วยปากต่อหน้าศาล ตามนิยามนี้ พยานบุคคลก็คือ ตัวคนที่รู้เห็นเหตุการณ์อันเป็นข้อเท็จจริงในคดี และได้มาเบิกความต่อหน้าศาลในฐานะพยาน
ที่มา : พระยาจินดาภิรมย์ราชสภาบดี (จิตต์ ณ สงขลา) คำอธิบายกฎหมายลักษณะคำพิจารณาพยานหลักฐาน, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์, 2464) หน้า 95 และ แอล. ดูปลาต์, กฎหมายลักษณะพยานและจิตวิทยา, (พระนคร: โรงพิมพ์อักษรนิติ์, 2478) หน้า 11

7.การศึกษา นิยาม กระบวนการเรียนรู้ เพื่อความเจริญงอกงาม ของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้า ทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจาก การจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัย เกื้อหนุน ให้บุคคลเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ที่มา : วิจารญ์ พานิช. (2553). เรียนรู้จากพรบ.การศึกษาแห่งชาติ(ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/342008 [ 10 พฤศจิกายน 2555]

8.พยานผู้เชี่ยวชาญนิยามเป็นพยานบุคคลประเภทหนึ่ง แต่มาเบิกความในลักษณะแสดงความเห็นมิใช่เป็นความจากการประสบพบเห็นข้อเท็จจริงและนำมาเล่าให้ศาลฟัง เช่นแพทย์ซึ่งตรวจบาดแผลของผู้เสียหายมาเป็นพยาน ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นว่าบาดแผลเกิดจากอะไร ดังนั้น พยานผู้เชี่ยวชาญจึงไม่มีปัญหาว่าจะได้พบเห็นข้อเท็จจริงมาด้วยตนเองหรือไม่ดังเช่นพยานบุคคล
ที่มา : ประเภทของพยานหลักฐาน (ออนไลน์). http://elearning.aru.ac.th/2563503/soc61/tp1/linkfile/print5.htm [10 พฤศจิกายน 2555].

9.พยานเอกสาร นิยาม ข้อความใดๆ ในเอกสารที่มีการอ้างอิงเป็นพยาน โดยอาศัยการสื่อความหมายของข้อความนั้นพิสูจน์ความจริง แต่การอ้างเอกสารเป็นพยานมิใช่หมายความว่าจะเป็นพยานเอกสารเสมอไป การอ้างข้อความตอนหนึ่งในเอกสารเพื่อพิสูจน์ว่าข้อเท็จจริงเกิดขึ้นตามข้อ
ความนั้น ดังนี้ เป็นพยานเอกสาร แต่ถ้าอ้างลงลายมือชื่อในเอกสารเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นลายมือที่จำเลย
ทำปลอมขึ้นในความผิดปลอมเอกสารหรืออ้างหนังสือทั้งเล่มเพื่อแสดงว่าเป็นการทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ ดังนี้เป็นการอ้างในฐานะวัตถุพยาน
ที่มา : ประเภทของพยานหลักฐาน (ออนไลน์).สืบค้นจากhttp://elearning.aru.ac.th/2563503/soc61/tp1/linkfile/print5.htm [10 พฤศจิกายน 2555].

10.จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
ที่มา : ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง.จริยธรรม(ออนไลน์ )สืบค้นจาก.http://www.baanjomyut.com/library/ethics/01.html [11 พฤศจิกายน 2555 ]

11.กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่รวมเอาลักษณะความผิดต่าง ๆ และกำหนดบทลงโทษมาบัญญัติขึ้น
ด้วยมีจุดประสงค์จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม
หรือคนส่วนใหญ่ของประเทศถือว่าเป็นความผิดทางอาญาหากปล่อยให้มีการแก้แค้นกันเองหรือ
ปล่อยให้ผู้กระทำผิดแล้วไม่มีการลงโทษจะทำให้มีการกระทำความผิดทางอาญามากขึ้นสังคมก็จะขาด
ความสงบสุข

ที่มา : ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง.(ออนไลน์)สืบค้นจาก http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42010/42010-41.htm [11พฤศจิกายน 2555]

12.ข้าราชการ คือ ผู้ปฏิบัติงาน หรือผู้บริหารงานของแผ่นดิน
ที่มา : เนติวิทย์ ขาวดี(2552).คนราชการ(ออนไลน์) สืบค้นจาก http://www.oknation.net/blog/andamantime/2009/11/21/entry-1 [ 11 พฤศจิกายน 2555]

13.กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา
ที่มา : กูเกิ้ลกูรู (2551).กฏหมายแพ่งคืออะไร(ออนไลน์) สืบค้นจากhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=140cf98beef5688d&pli=1[11 พฤศจิกายน 2555]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น